ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนา

มหาวิทยาลัยมีนโยบายการเรียนรู้ของนักศึกษา จึงได้ให้หน่วยงานในสังกัดจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เฉพาะวิชาชีพขึ้น

การจัดตั้งและพัฒนา

ศูนย์เฉพาะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ

โครงการจัดตั้งศูนย์เฉพาะทางด้านวิชาการวิชาชีพ/โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์เฉพาะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ

รายละเอียดเพิ่มเติม

การดำเนินงานศูนย์เฉพาะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ

ปัจจุบันมีศูนย์ที่เปิดดำเนินการแล้ว 13 ศูนย์ ดังนี้

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงาน

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ดำเนินงานโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการดำเนินการได้ให้บริการวิชาการแก่สังคมในกลุ่มบริการวิชาการแบบไม่ใช้เครื่องมือ และแบบใช้เครื่องมือโดยให้บริการด้านทดสอบวัสดุ ทั้งในห้องปฏิบัติการและในภาคสนาม รวมถึงการออกแบบ เช่น การออกแบบอัตราส่วนผสมคอนกรีต และยังรวมถึงการให้คำปรึกษาด้านตางๆ ในงานวิศวกรรมโยธา เป็นต้น และในปีงบประมาณ 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีการเปิดรับการทดสอบเพิ่มเติมในงานวิศวกรรมด้านอื่นๆ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ด้านวิศวกรรมอุตสาหกรรม และด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ทั้งนี้ได้มีด้านการทดสอบที่เพิ่มขึ้น

ศูนย์ภาษา

คณะศิลปศาสตร์

ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานด้านการจัดการเรียนรู้ด้านภาษา และเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาอาหรับที่ทันสมัยและครบวงจรแก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ตลอดจนการสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อสนองความต้องการของนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ต่อมาเมื่อสำนักงานการอุดมศึกษาได้ประกาศนโยบาย เรื่องการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2559 โดยกำหนดให้มหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านภาษาอังกฤษและทดสอบวัดระดับความรู้มาตรฐานภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษานั้น มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จึงได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ ศูนย์สอบ TOEFL ITP แห่งประเทศไทย จัดตั้งศูนย์สอบ TOEFL ITP ซึ่งเป็นหนึ่งในแบบทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษที่เป็นที่ยอมรับที่มีมาตรฐานสามารถเทียบเคียงกับเกณฑ์ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ณ ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 และต่อมาศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งนี้ศูนย์ภาษาพร้อมขยายการให้บริการทางวิชาการอย่างเต็มรูปแบบ โดยวางแผนในการลงนามความร่วมมือกับศูนย์ทดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นศูนย์ทดสอบวัดระดับ CU-TEP รวมถึงการจัดทำข้อสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หรือ PNU-TEP อีกด้วย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เปิดให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และมลายู บริการแปลภาษาและล่ามภาษา และจัดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง  

วิสัยทัศน์ ภายในปี พ.ศ. 2565 ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และการบริการด้านภาษาที่ทันสมัยและครบวงจรที่สุดในสามจังหวัดชายแดนใต้

พันธกิจ         

  • จัดการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะด้านภาษา
  • บริการแปลภาษา
  • บริการล่ามแปลภาษา
  • บริการทดสอบวัดระดับความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
  • ผลิตสื่อการเรียนรู้และงานสร้างสรรค์ด้านภาษา เพื่อผลประโยชน์ของสังคมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ยุทธศาสตร์    

  1. พัฒนาศักยภาพการบริการด้านภาษา เพื่อสนองความต้องการของสังคม
  2. มุ่งเน้นการผลิตสื่อการเรียนรู้และงานสร้างสรรค์ด้านภาษาเพื่อผลประโยชน์ของสังคมในจังหวัดชายแดนใต้

การบริการ

         ศูนย์ภาษามีการบริการด้านภาษาให้แก่นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และบุคคลทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการที่หลากหลาย ดังนี้

  1. บริการให้คำปรึกษาด้านภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาไทยและภาษาจีนโดยผู้เชี่ยวชาญ
  2. บริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษามลายู และภาษาจีน
  3. บริการอุปกรณ์สำหรับการเรียนรู้ภาษาด้วยตัวเอง ได้แก่ คอมคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และ Talking Dictionary
  4. บริการ Movie Lounge และแผ่นซีดี/ดีวีดีหนังและสารคดีให้ผู้เข้าใช้บริการได้ฝึกทักษะการฟังภาษาต่าง ๆ
  5. บริการแปลภาษา
  6. ศูนย์สอบ TOEFL ITP ซึ่งกำหนดจัดสอบทุกวันเสาร์ของทุกเดือน
  7. บริการสอนเสริมหลักสูตรระยะสั้นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาจีน

PNU-TEP (Princess of Naradhiwas University Test of English Proficiency)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

คณะพยาบาลศาสตร์

ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในปี งบประมาณ 2560 และได้เปิดให้บริการการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามหลักวิชาการ อายุ 1 ปีครึ่งถึง 4 ปี ให้แก่บุคคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และให้บริการแก่บุคลากรภายนอก รวมทั้งมุ่งหวังให้เป็นต้นแบบที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในปีงบประมาณ 2563 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษา วิจัยด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัยของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คณะเกษตรศาสตร์และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส

มีการดำเนินการ เป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีนักศึกษาของคณะที่มีหน้าที่ดูแลงานต่างๆ ของศูนย์โดยมีฟาร์มไก่ไข่ ฟาร์มไข่นกกระทา ฟาร์มวัด ฟาร์มม้า ฟาร์มแพะ และยังมีการปลูกพืชพันธ์ุส่วนครัว เช่น ผักสลัด ผักบุ้ง กวางตุ้ง เป็นต้น เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจพอเพียงในการใช้ชีวิตตามแนวทางของรัชกาลที่ 9 และให้ส่วนราชการอื่นๆ ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกมาศึกษาความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้กันต่อไป

ศูนย์บริการวิชาการอิสลามและภาษาอาหรับ

สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา

มีการดำเนินการศูนย์บริการวิชาการอิสลามและภาษาอาหรับ ในนามของสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2561 โดยมีนางพาตีเมาะ สะดีมายู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในสมัยนั้น ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยฯ รศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ ดร.วิสุทธิ์ บินล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรี ประจำภาคใต้ นายซาฟีอี เจ๊ะเลาะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ผู้นำชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิตลอดจนคณาจารย์และตัวแทนนักศึกษามาร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและร่วมกล่าวดุอาร์ขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้า ณ ห้องทำการศูนย์บริการวิชาการอิสลามและภาษาอาหรับ อาคารเรียนรวมและสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา ชั้น 5 เป็นศูนย์กลางความรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายด้านวิชาการอิสลามและภาษาอาหรับ เพื่อยกระดับการให้บริการวิชาการสู่ชุมชนและสังคมในรูปแบบที่หลากหลายและทันสมัย บูรณาการกับการวิจัย การพัฒนานักศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและศาสนา สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงอิสลามและภาษาอาหรับ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสมานฉันท์และสันติสุขที่ยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรมของจังหวัดชายแดนใต้และประชาคมอาเซียน และการดำเนินการ ดังนี้

  1. พัฒนาหลักสูตรการบริการวิชาการที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดจนประชาคมอาเซียน
  2. ดำเนินกิจกรรมและโครงการบริการวิชาการต่างๆ ตามหลักสูตรและแผนงานเพื่อพัฒนาวิชาการอิสลามและทักษะภาษาอาหรับตลอดจนภาษามลายู
  3. รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการบริการวิชาการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและจุดเน้นของสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา
  4. จัดทดสอบมาตรฐานความรู้ ทักษะภาษาอาหรับและภาษามลายู ของนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป
  5. จัดบริการให้คำปรึกษาและตอบปัญหาวิชาการอิสลาม และการแปลเอกสารข้อมูลภาษาต่างประเทศ (อาหรับ มลายู ไทย)
  6. พัฒนาบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีให้เอื้อต่อการให้บริการวิชาการอย่างมีคุณภาพและทันสมัย
  7. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้และนวัตกรรมกับเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
โดยมีโครงการบริการวิชาการในปีการศึกษา 2563-2564 ทั้งสิ้น 9 โครงการ ได้แก่
  1. โครงการผลิตสื่อและนวัตกรรมทางวิชาการอิสลามและภาษาอาหรับ
  2. โครงการแปลหนังสือหรือตำราวิชาอิสลามและภาษาอาหรับ
  3. โครงการอบรมภาษาอาหรับหลักสูตรระยะสั้น
  4. โครงการพัฒนาคนและสังคมแห่งการเรียนรู้
  5. โครงการพัฒนาศูนย์บริการวิชาการอิสลามและภาษาอาหรับ
  6. โครงการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางด้านกฆหมายอิสลามร่วมสมัย
  7. โครงการมองสถาบันผ่านเลนซ์ AIAS PNU RADIO
  8. โครงการบริการวิชาการในวันสถาปนามหาวิทยาลัยฯ
  9. โครงการยกระดับมาตรฐานการศึกษาอิสลาม
    1. โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตการศึกษาอิสลาม (ตาดีกา) มัสยิด มนร.
    2. โครงการบัณฑิตอาสาตาดีกาก้าวไกล
    3. วิทยากรบรรยายวิชาการทั้งภายในและภายนอก
    4. โครงการบริการวิชาการและแนะแนวทางการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

คณะพยาบาลศาสตร์

มีการดำเนินการ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 (ชื่อเดิมศูนย์ความเป็นเลิศการบูรณาการการดูแลผู้สูงอายุท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม) เพื่อรับมือกับปัญหาและแก้ไขปัญหาสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ภารกิจของศูนย์ฯ ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ และการเป็นศูนย์การเรียนรู้ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในปี 2564 มีการดำเนินการ คือ มีการเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้สูงอายุ โดยผ่านทางออนไลน์ในรูปแบบทางเฟสบุ๊คเป็นส่วนใหญ่โดยมีกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้สูงอายุได้แก่ การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (LOGO) และคำขวัญ (MOTTO) เป็นต้น

ศูนย์บริการวิชาการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มีการดำเนินการเพื่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกเช่นพลังงานไบโอดีเซลพลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้นมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการขอทุนวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกจากหน่วยงานนอกนำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับพลังงานทางเลือกโดยเฉพาะพลังงานไบโอดีเซลที่ได้การพัฒนาจากปาล์มน้ำมันที่มีอยู่อย่างมากในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดนราธิวาส

ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and innovation Center หรือ AIC)

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

มีการดำเนินการเป็นศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมในจังหวัดนราธิวาสมีการดำเนินการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมีการลงนามร่วมกันกับมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์มีหน้าที่ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้กับชุมชนในพื้นที่ในการดำเนินของศูนย์ AIC มีคณะกรรมการแต่งตั้งโดยมีหัวหน้าศูนย์ราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการศูนย์ฯ ในปี 2564 มีการประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาสในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่างๆของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงปัญหาด้านการร่วงของใบยางพาราเป็นต้นมีการดำเนินการเข้าร่วมประชุมกับส่วนราชการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดวางแผนการเสนอโครงการงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีการดำเนินการทั้งในห้องปฏิบัติการและในแปลงยางพาราของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เพื่อแก้ไขปัญหาการร่วงระบาดของยางพาราให้มีประสิทธิภาพต่อไป

คลินิกถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส

คลินิกถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์มีการดำเนินการเน้นให้คำปรึกษาบริการองค์ความรู้ปัญหาต่างๆด้านการเกษตรและร่วมกับทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาสในปี 2564 มีการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีต่างๆมีการเลี้ยงผึ้งชันโรงลองกองแปรรูปแพะเนื้อโคเนื้อไก่เบตงแพะนมมีห้องแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและมีผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยจำนวน 21 รายการมีการก่อสร้างห้องตัวอย่างจำหน่ายเนื้อห้องตัวอย่างห้องสาธิตการจำหน่ายเนื้อโคเป็นต้นในปี 65 จะดำเนินการเกี่ยวกับการแปรรูปเกี่ยวกับน้ำนมแพะต่อไป

ศูนย์พัฒนาทักษะและทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ

วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาลัยการอาชีพตากใบ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส

มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เพื่อมุ่งเน้นให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายนอกในการพัฒนาด้านฝีมือด้านไฟฟ้าเนื่องจากดำเนินการด้านไฟฟ้าก่อนด้านอื่นยังไม่มีการดำเนินการเป็นศูนย์ย่อยของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนราธิวาสโดยอาจารย์ต้องเข้าร่วมอบรมเป็นผู้ทดสอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ได้ลายเส้นกลับมาเพื่อใช้เป็นการทดสอบมาตรฐานนักศึกษาบุคลากรภายนอกเพื่อให้นักศึกษาเข้ามาทดสอบมาตรฐานวิชาชีพในการจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และบุคลากรภายนอกเข้ามาทดสอบมาตรฐานวิชาชีพเพื่อนำไปใช้ประกอบในการทํางานโดย มีการผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในปี 2564 วิทยาลัยฯ มีแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับศูนย์ทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ในปี 2565 วิทยาลัยฯ มีโครงการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ ที่เตรียมจะดำเนินการในช่วงเดือนธันวาคม 2564

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและการค้าชายแดน

คณะวิทยาการจัดการ

มีการดำเนินการ จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่กลุ่มผู้ประกอบการ ที่มีความต้องการในเรื่องการพัฒนาสินค้า การออกแบบ บรรจุภัณฑ์และการตลาดออนไลน์ ในปี 2564 ได้ดำเนินการให้บริการ เรื่อง Digital Marketing สำคัญอย่างไร ทำไมธุรกิจต้องปรับตัว ในหัวข้อเรื่องการยกระดับผู้ประกอบการสู่ระบบออนไลน์ โดยบรรยายให้ความรู้ในวันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2564 ผ่านระบบ Zoom Online

การดำเนินการ

ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาสื่อ

Learning and Media Development Center

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มีการดำเนินการในเรื่องของสื่อต่างๆ วิดีโอ มีการตัดต่อในการทำสื่อต่างๆ โดยส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยฯ เข้ามาใช้บริการเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการสอนอบรมให้ความรู้การทำสื่อต่างๆ ให้กับนักศึกษาภายในคณะและคณะอื่นๆ ที่สนใจและเข้ามาใช้เครื่องมือภายในศูนย์การทำสื่อ วิดีโอ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนการสอนหรือ อื่นๆ ที่น่าสนใจ ในปี 2564 การดำเนินงานให้ส่วนราชการภายในเข้ามาใช้สื่อต่างๆ ของทางคณะ และสอนทำสื่อให้กับผู้ที่สนใจ

ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตร

คณะเกษตรศาสตร์

มีการดำเนินการปลูกพืชผักต่างๆ ในแปลงข้างโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ โดยมีนักศึกษาของคณะดำเนินการดูแลการปลูกและออกจำหน่ายผลิตผลให้กับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย มีการปลูกพื้ชผลต่างๆ ในแปลง เช่น เมล่อน บัตเตอร์นัท ผักสลัด และข้าวโพด เป็นการสร้างรายได้ให้กับนักศึกษาให้ความรู้กับบุคลากรภายนอกที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้จากศูนย์ได้