เมื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยการหลอมรวมของสถาบันทางการศึกษาของจังหวัดนราธิวาส คือ วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาลัยการอาชีพตากใบ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนราธิวาส  เมื่อปี พุทธศักราช 2558  ความรู้สึกแรกของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ตั้งอยู่ตรงไหนของนราธิวาส

การตั้งมหาวิทยาลัยจึงไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องที่เหลือบากกว่าแรงของนักบริหารที่ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก   พลาศัย ผู้ที่จะต้องเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ให้เกิดขึ้นให้ได้ และจะต้องไขข้อสงสัยให้แก่พี่น้องประชาชน ที่ว่ามหาวิทยาลัยจะตั้งที่ใด ใช้พื้นที่ไหน อยู่ตรงไหน ของจังหวัดนราธิวาส เพราะจากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2548  ได้ประกาศในราชกิจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 โดยบังคับใช้ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 โดยหลอมรวมกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณรายได้  หนี้สิน  บุคลากรของสถาบันการศึกษา เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถทำได้ทันทีในช่วงระยะเวลานั้น แต่ถ้าจะให้มีการจัดหาพื้นที่ ดำเนินการก่อสร้างอาคารต่างๆ ตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัย เลยนั้น ก็คงจะยาก แต่ความมุ่งมั่นและความตั้งใจที่จะหาพื้นที่ก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้เป็นอาณาจักรแห่งการศึกษา ของจังหวัดนราธิวาส มีอย่างแรงกล้า

ตลอดระยะเวลา 10 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้สร้าง อุทยานการศึกษา อาณาจักรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นภูมิสถานแห่งความรู้ ความคิด จิตสำนึก และภูมิปัญญาของสังคม เป็นสถาบันการศึกษาที่พร้อมจะบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และพร้อมจะเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่าของสังคมไทยต่อไป

ในความเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ไม่เพียงแต่ความกว้างขวาง ร่มรื่นและสง่างามเท่านั้น หากแต่บริบทของมหาวิทยาลัย ที่เพียบพร้อมด้วยองค์ประกอบหลากหลาย ที่จะต้องหลอมรวมเอาชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ด้านวิชาการ ด้านสังคม และการบริหารจัดการในที่ดินผลประโยชน์ เพื่อขับเคลื่อนในชุมชนมหาวิทยาลัยนี้ดำเนินต่อไปด้วยการพึ่งตนเองได้ และสร้างความเจริญให้แก่บริบทโดยรอบ ให้มีเอกลักษณ์และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญในการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย และการพัฒนาระบบการบริหารด้านกายภาพ มหาวิทยาลัยได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน  อาคารที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการเรียนการสอน อาคารบริการ และส่วนประกอบอื่น ที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดจนมีการวางแผนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็น รวมถึงระบบสาธารณูปโภค ในการพัฒนาการศึกษาในอนาคตต่อไป  โดยได้แบ่งพื้นที่ในการดำเนินก่อสร้าง คือ  พื้นที่บริเวณเขตโคกเขือ จำนวน 2 แปลง 1. เนื้อที่ 131 ไร่ 2. เนื้อที่ 156 ไร่ และ พื้นที่บริเวณบ้านบือราเปะ จำนวน 1 แปลง มีเนื้อที่ 212 ไร่

ปี พ.ศ. 2550 ทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ได้เร่งดำเนินการจัดทำ “ผังแม่บทมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์” เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาด้านกายภาพ พัฒนาทางวิชาการ และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของฐานข้อมูล วิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้สามารถสนับสนุนกระบวนการ การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการต่อไป

จากนั้นเมื่อทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำผังแม่บทเรียบร้อยแล้ว จึงได้เริ่มดำเนินการในการจัดสรรงบประมาณซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในสมัยนั้น สำหรับแผนการดำเนินงานก่อสร้าง ได้เริ่มจากการดำเนินการก่อสร้างในเขตพื้นที่โคกเขือ ในเนื้อที่ 131 ไร่  อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์  อาคารเรียนรวม (สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา) อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารคณะวิทยาการจัดการ อาคารศิลปศาสตร์ และอาคารศูนย์วิทยบริการ อาคารเหล่านี้จะรองรับนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำแผนการรับศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ส่วนในพื้นที่ แปลงที่ 2 ณ ศูนย์ราชการใหม่ (บ้านบือราเป๊ะ) มีอาคารที่ดำเนินการก่อสร้างคือ อาคารสำนักงานอธิการบดี  อาคารคณะแพทยศาสตร์ อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ อาคารโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์  อาคารหอประชุมใหญ่  หอพักอาจารย์และเจ้าหน้าที่ อาคารยิมเนเซียม สนามกีฬามหาวิทยาลัย  ที่กล่าวมานั้นขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วสมบูรณ์

“บทบาท เป็นส่วนสำคัญในการที่จะขับเคลื่อน  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 
ให้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง  โดยเร่งดำเนินการจัดทำ ผังแม่บทมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาด้านกายภาพ  อาคารเรียน
อาคารที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการเรียนการสอน อาคารบริการ
และส่วนประกอบอื่นๆ ที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตข้างหน้า
ให้สามารถรองรับความต้องการทางการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาตามแผนพัฒนาการศึกษาที่ได้กำหนดไว้”

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยฯ รองศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์เป็นประธาน เทเสาเอกอาคารปฎิบัติการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มนร

*อาคารปฎิบัติการวิจัย เป็นอาคารในการบริหารจัดการจัดเรียนการสอนเพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาใช้ในการพัฒนาการศึกษาด้านการแพทย์ให้เกิดคุณภาพต่อไป

โรงอาหาร พร้อมลานกิจกรรมขนาดชั้นเดียว เป็นโรงอาหารที่บริการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มให้แก่บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รวมถึงบุคคลภายนอก

เป็นอาคารขนาด 5 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 10,424 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องสำนักงาน ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการเรียนการสอน “อยู่ระหว่างการก่อสร้าง” ดำเนินการแล้วเสร็จปี พ.ศ.2564

ร้านสวัสดิการเครื่องดื่ม เป็นร้านกาแฟมีชื่อว่า มอ.นรา เป็นอาคารชั้นเดียวบริการจำหน่ายเครื่องดื่มให้แก่บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์และบุคคลภายนอก

ขนาดอาคารชั้นเดียว เป็นอาคารปฏิบัติการโรงงามยางพารา และโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นแหล่งเรียนรู้ทางนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ขนาดอาคาร 2 ชั้น ใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนทางเทคโนโลยีอุตสหกรรม เป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรม 4.0 ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

อาคารลานอเนกประสงค์ ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สามารถจุคนได้ กว่า 1,000 คน

สร้างเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 มีสนามฟุตบอล และมีอาคารประกอบ คือ อาคารที่พักนักกีฬา อาคารอัฒจันทร์ สามารถจุคนได้กว่า 1,000 คน

อาคารยิมเนเซี่ยมและสโมสรนักศึกษา

สร้างเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 มีเนื้อที่ใช้สอย 8,150 ตารางเมตร เป็นอาคารชั้นเดียว ใช้ในการแข่งขันกีฬาภายในอาคาร และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

อาคารมัสยิด มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

มัสยิดมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามได้ปฏิบัติศาสนกิจ โดยก่อสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2555 ในรั้วของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีพิธีเทฐานราก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 ภายใต้แนวคิดของอธิการบดีคนแรก (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย) ที่ได้เล็งเห็นถึงความเข้าใจในวัฒนธรรมอิสลาม ตระหนักและเห็นคุณค่าของมัสยิดอันเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางศาสนา และการอบรมบ่มเพาะคุณธรรมเคียงคู่วิถีชีวิตชุมชนท่านจึงสนับสนุนให้มีการสร้างมัสยิดขึ้นในสถานศึกษาแห่งนี้ เพื่อเป็นเกียรติยศ และความภาคภูมิใจของนักศึกษา บุคลากร ตลอดจนผู้ปกครอง และประชาชนในท้องถิ่น

มัสยิดแห่งนี้ ได้มีการออกแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม และสะท้อนถึงการเข้าถึง เข้าใจ ของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่อย่างแท้จริง

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 มีขนาด 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 8,500 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องสำนักงาน ห้องปฎิบัติการเรียนการสอน

ก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 เป็นอาคารชั้นเดียวให้บริการผู้ป่วยตรวจเอกซเรย์ อวัยวะภายใน ตรวจคลื่นไฟฟ้า หัวใจ รังสีวินิจฉัย ให้บริการตรวจแมมโมแกรม, CT scan, X-ray ทั่วไป และ Fluoroscopy

เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2553 มีชื่อเดิมว่า อาคารหอประชุมใหญ่ มีขนาด 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 11,489 ตารางเมตร สามารถจุคนได้ประมาณ 3,000 คน เป็นอาคารสมัยใหม่ใช้เป็นสถานที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และประกอบกิจกรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย ที่ตั้งของอาคารเฉลิมพระเกียรติได้ออกแบบให้มีแกนสัญจรที่เชื่อมโยงกับอาคารอื่นฯ ที่อยู่ในพื้นที่ และเน้นความสง่างามของอาคารท่ามกลางกลุ่มอาคารที่อยู่โดยรอบได้อย่างลงตัว

โรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สร้างเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 มีเนื้อที่ใช้สอย 19,000 ตารางเมตร เป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่จะเป็นแหล่งให้บริการด้านการักษาพยาบาลของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ลักษณะโรงพยาบาลมีขนาด 12 ชั้น เปิดให้บริการผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 มีขนาด 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 7,800 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องสมุด ห้องประชุม ห้องประวัติ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรม

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 มีขนาด 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,424 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องสำนักงาน ห้องประชุม และห้องปฎิบัติการเรียนการสอน

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 มีขนาด 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,000 ตารางเมตร เป็นหอพักหญิง ภายในหอพักมีห้องประชาสัมพันธ์ ห้องพักสำหรับนักศึกษา 4 คน และภายในบริเวณหอพักมีสวัสิดการร้านค้า และบริการซักรีด เพื่อำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552
มีขนาด 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,968 ตารางเมตร
ประกอบด้วยห้องประชุม ห้องสำนักงาน และห้องปฏิบัติการเรียนการสอน

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 มีขนาด 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 8,567 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องสำนักงาน ห้องปฏิบัติการเรียนการสอน และห้องศูนย์ภาษา

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 มีขนาด 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องสำนักงาน ห้องปฏิบัติการเรียนการสอน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 285 เมษายน 2551 มี ขนาด 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 22,800 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องสำนักงาน ห้องประชุมและห้องปฎิบัติการเรียนการสอน

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 มีขนาด 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 7,670 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องสำนักงาน และห้องประชุม ในสังกัดมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 มีขนาด 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 2,824 ตารางเมตร เป็นหอพักนักศึกษาหญิง ภายในหอพักมีห้องประชาสัมพันธ์ ห้องพักสำหรับนักศึกษา 4 คน และภายในบริเวณหอพักมีสวัสดิการร้านค้า และบริการซักรีด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 มี ขนาด 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 11,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องสำนักงาน และห้องประชุม และห้องปฎิบัติการเรียนการสอน

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 มี ขนาด 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,000 ตารางเมตร เป็นอาคารที่มีห้องพักอาจารย์ และเจ้าหน้าที่พักอาศัย ภายในบริเวณหอพักมีสวัสดิการร้านค้า และบริการซักรีด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร ปัจจุบันใช้ชื่อว่า “หอพักแสงมณี”