อนุสาวรีย์พระพี่นางเธอฯ

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ๒๕๕๖ อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งมหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์ โดยหลอมรวมสถาบันการศึกษาที่มีอยู่แล้วในจังหวัด เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการลงทุนน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยไม่ขัดต่อปรัชญาการศึกษาและภารกิจของ สถาบันการศึกษาเดิม

โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ขอพระราชทานพระอนุญาตเชิญพระนามกรมเป็นชื่อมหาวิทยาลัยดังกล่าว ว่า “มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์” เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา และสมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงยินดีให้เชิญพระนามกรมเป็นชื่อมหาวิทยาลัย ในจังหวัดนราธิวาส ตามที่ขอพระราชทานพระอนุญาต และเมื่อวันที่ 6 กันยายน ๒๕๕๙ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรรมการสภามหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์ และผู้บริหารเข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานการดำเนินงาน และขอพระราชทานตราสัญลักษณ์ อักษรพระนามเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เริ่มสร้างพระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยทางกรมศิลปากรได้มีการอนุมัติต้นแบบพระอนุสาวรีย์ ประทับ นั่งพระเจ้าอี้และแบบแท่นประดิษฐานตามความเห็นชอบ และได้เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ ขนาดของ พระรูป สูง ๑.๒ เมตร กว้าง ๐.๔๕ เมตร ขนาดแท่นประดิษฐาน สูง ๑.๘๕ เมตร มีความกว้างขนาด ๑.๓๕ เมตร พร้อมด้วยการก่อสร้างบริเวณและปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม


มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้จัดสร้างวิหารขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจบุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และประชาชนทั่วไปได้เคารพสักการะ โดยมหาวิทยาลัยได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 และได้จัดพิธีบวงสรวงเจริญพระพุทธมนต์ และพุทธาภิเษกในวันที่ 7 มีนาคม 2563

วิหารสมเด็จหลวงปู่ทวดวัดช้างให้

(Luong Pu great-grandparents)

ที่มา

ประวัติของ “หลวงปู่ทวด” ที่ปรากฏทั่วไประบุว่า สมเด็จเจ้าพะโคะ เป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลของ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชหลวงปู่ทวด มีนามเดิมว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู และ นางจัน ชาวบ้านวัดเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าบิดามารดาของเด็กชายปูนั้นเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีคนหนึ่งที่มีชื่อว่า “ปาน” อีกด้วย หลวงปู่ทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทย ในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริง

มหาวิทยาลัยจึงได้สร้างรูปเหมือนขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้สักการะและได้มส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภายใต้พหุวัฒนธรรมในพื้นที่อีกด้วย

วิหารพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

(Thaksin Ming Mongkol Buddha)

ประวัติ

พระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคล สีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล เป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ประดิษฐานในปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา มีพุทธลักษณะตามแบบศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 องค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง 17 เมตร ความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา 24 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย องค์พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงคู่กับจังหวัดนราธิวาส และดินแดนภาคใต้ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ  และเป็นที่สักการะบูชาอย่างสูงของชาวพุทธในดินแดนภาคใต้

    มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจบุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปได้เคารพสักการะ

อนุสาวรีย์พระวิษณุกรรม

พระวิษณุกรรม เป็นสิ่งบ่งบอกถึงสัญลักษณ์แห่งสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพ นักศึกษาด้านวิชาชีพต่างก็ยกย่องนับถือองค์พระวิษณุกรรมในฐานะเทพ ผู้เป็นบิดาในเชิงช่าง

การสักการะบูชาองค์พระวิษณุกรรม บูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียนเครื่องหอม จุดธูป 8 ดอก

บทอธิษฐานขอพร บูชาและถวายเครื่องบวงสรวง จุดธูป 16 ดอก (แก้บน 32 ดอก) โอมสะศางขะจักรัม สะกิริฏะกุณตะลัม สปิตะวัสตรัม สะระสีรูเหกษณัม สะหาระวักษะสถะระ เกาวตุภะ ศริยัม นะมามิ วิษณุม ศิระสา จตุรภุชัม สวดอัญเชิญพระวิษณุกรรม โอม คุรุ เทวา นะมามิ วิษณุกรรม กันเจวะ อาจาริยัง เทวา มหาปัญโย นิมิตตัง ศิลปนามัง โยธามิเศษตัง ปฏิกรรมนานัง ภะวันตุโน อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ เอหิ นะมะมามา วันทามิ

บทถวายเครื่องบวงสรวง

บทที่ 1 อิมิ ธูปะพยัญชนะ สัมปัณนัง สาลีนัง โภชนานัง ทีปะ ธูปะ ทะมัง สักการะ วันทานัง อุเทวานัง คุรุ อาจาริยัง สัพพะทาติ อะหัง วันทามิ

บทที่ 2 ว่าคาถาและนำธูปปักเครื่องสังเวยจนหมดทุกอย่าง อิมัสมิง มงคลจักรวาลัง ภะวิสติ ชัยโย ชัยโยนิจัง สัพพะทุกขัง วินาศสันติ ปฏิสนธิตัง มหาลาโภ ชัยโยนิจัง พะวันตุเต

บทที่ 3 ลาเครื่องบวงสรวงบูชา เสสัง มังคะลัง วิษณุกรรมเทวานัง ยาจามิ (3 จบ)