College of PNU

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มี 3 วิทยาลัย


หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • สาขาวิชาช่างยนต์
  • สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
  • สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
  • สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (2ปีต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธา
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • สาขาวิชาช่างเทคนิคอากาศยาน
  • สาขาวิชาช่างเทคนิคระบบขนส่งทางราง
  • สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล
  • สาขาวิชาช่างไฟฟ้า
  • สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะ
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อดีของการเลือกเรียนต่อสายอาชีพมีมากไม่แพ้กับการเรียนสายสามัญเลย หลักสูตรสายอาชีพ เป็นหลักสูตรการเรียนที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนที่ต้องการเรียนตรงสายโดยเฉพาะ ถ้าน้อง ๆ คนไหนรู้ตัวตั้งแต่ ม. 3 แล้วว่ามีความชอบอะไรเป็นพิเศษ อยากทำอาชีพอะไรแน่ ๆ ก็สามารถไปเลือกเรียนสายอาชีพที่น้อง ๆ สนใจได้เลย เพราะการเรียนสายอาชีพเป็นการเรียนแยกตามอาชีพอย่างชัดเจน เช่น ถ้าใครชอบแนวอุตสาหกรรม ก็สามารถเลือกเรียนในสาขาย่อยที่ตัวเองอยากเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็น สาขาเครื่องกล ที่มีให้เลือกย่อยลงไปอีกว่า อยากเรียนเกี่ยวกับเครื่องกลอะไร ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกลงานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม ที่เป็นการเรียนกลไลของเครื่องจักรการผลิตในโรงงาน หรือจะเป็นสายวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือถ้าใครสนใจด้านการต่อเรือ สายอาชีพก็มีให้เราได้เลือกเรียนเหมือนกัน ไม่เว้นแม้แต่การก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม ผลิตเฟอร์นิเจอร์ หรือถ้าชอบแนวธุรกิจ ก็มีสายพาณิชยกรรมและบริหารธุรกิจให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นสาขาการบัญชี งานขาย คอมพิวเตอร์ เซลส์ เลขานุการ หรือถ้าชอบทำอาหาร ทำเสื้อผ้า ก็สามารถเลือกสายคหกรรมได้ นอกจากนี้ยังมีสายศิลปกรรม ที่เน้นสอนศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นวิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม เครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา การทำอัญมณี ไปจนถึงการถ่ายภาพ การทำภาพยนตร์

ทั้งหมดนี้ถ้าน้อง ๆ เลือกเรียนสายอาชีพ น้อง ๆ จะได้เข้าไปเรียนรู้งานในสายอาชีพที่น้อง ๆ สนใจได้เลยทันทีตั้งแต่จบม. 3 ไม่ต้องไปนั่งเรียนวิชาที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานที่น้องอยากทำ ได้ลงมือทำงานจริง แถมระหว่างเรียนยังมีโอกาสได้ทำงานด้านนั้น ๆ จนมีรายได้ไปพร้อมกับเรียนไปด้วยก็ได้ แถมจบมายังมีทักษะวิชาชีพติดตัว หางานก็ง่าย เป็นที่ต้องการของตลาดงานอย่างมาก

น้อง ๆ ที่เลือกเรียนสายอาชีพ ถ้าอยากไปต่อหลักสูตรปริญญาก็สามารถทำได้ หลังจากที่น้อง ๆ ใช้เวลาเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. เป็นเวลา 3 ปีแล้ว น้อง ๆ สามารถเลือกได้ว่าจะต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. อีก 2 ปี หรือเลือกกลับเข้าสู่ระบบสามัญด้วยการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่อปริญญาตรีอีก 4 ปีก็ได้ แต่ถ้าใครเรียน ปวส.ไปแล้ว อยากได้วุฒิปริญญาตรีเพิ่ม ก็สามารถเทียบโอนหลังจากจบปวส. 2 ปี เพื่อเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรีเพิ่มอีก 2 ปี น้อง ๆ ก็จะได้วุฒิปริญญาตรีเหมือนกับเด็กสายสามัญ แต่มีแต้มต่อตรงที่น้อง ๆ มีทักษะสายวิชาชีพติดตัว และมีประสบการณ์การทำงานจริงมากกว่านั่นเอง

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (ทวิศึกษา)
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาช่างยนต์
  • สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
  • ค้นหาตัวเองให้เจอว่าสนใจและอยากเรียนอะไร
  • เช็กให้แน่ใจว่าอยากเรียนสาขานั้นจริง ๆ ด้วยการลองศึกษาเบื้องต้นด้วยตัวเอง หรือจะลองถามจากคนที่ทำงานในสายอาชีพนั้น ๆ อยู่ก็ได้
  • ค้นหาโรงเรียนหรือวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรที่เราสนใจ
  • ศึกษาลู่ทางเผื่อต่อปริญญาตรี
  • ถ้ากายพร้อมใจพร้อม ก็สมัครเรียนสายวิชาชีพได้เลย

           สายอาชีพถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และมาแรงมาก ๆ ในสมัยนี้ที่ค่านิยมสังคมเปลี่ยนไป และบริษัทหันมาสนใจประสบการณ์และความสามารถในการทำงานได้จริงมากกว่าใบปริญญา แถมแรงงานฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญขั้นสูงยังได้รับผลตอบแทนหรือรายได้ดีมาก และมีงานหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย

ทั้งหมดนี้ถ้าน้อง ๆ เลือกเรียนสายอาชีพ น้อง ๆ จะได้เข้าไปเรียนรู้งานในสายอาชีพที่น้อง ๆ สนใจได้เลยทันทีตั้งแต่จบม. 3 ไม่ต้องไปนั่งเรียนวิชาที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานที่น้องอยากทำ ได้ลงมือทำงานจริง แถมระหว่างเรียนยังมีโอกาสได้ทำงานด้านนั้น ๆ จนมีรายได้ไปพร้อมกับเรียนไปด้วยก็ได้ แถมจบมายังมีทักษะวิชาชีพติดตัว หางานก็ง่าย เป็นที่ต้องการของตลาดงานอย่างมาก

หลักสูตรทวิศึกษานี้จะเป็นระบบการศึกษาแบบใหม่ที่ผสมผสานการเรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายกับการศึกษาแบบหลักสูตรวิชาชีพ (ป.ว.ช.)

1.ผู้ประกอบการได้คนตรงกับสายงาน ส่วนนักเรียนที่จบมาจากหลักสูตรจะได้งานที่ตรงใจและตรงกับความสามารถและความถนัดของตนเอง

2.เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาสําหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามความถนัดและความสนใจ

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

เกษตรศาสตร์ หรือ Agricultural Science คือ วิชาว่าด้วยการเกษตรกรรม โดยรวมสามารถแบ่งได้หลายสาขาวิชา และแบ่งย่อยไปในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แคลคูลัส ฯลฯ บางสาขาต้องเรียนในห้องแล็บ

สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน มีงานรองรับค่อนข้างกว้างมาก ถ้าเป็นงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ ก็สามารถทำงานหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรฯ สำหรับงานเอกชน บริษัทธุรกิจเอกชนต่างๆ เช่น บริษัททางการเกษตร ตลอดไปถึงธุรกิจส่วนตัว อย่างทำนา ทำสวน ทำไร่ ประมง ป่าไม้ รวมถึงงานที่ไม่ตรงสายอื่นๆ เช่น งานราชการ, งานเอกชน ที่รับ ปริญญาตรีทุกวุฒิ เป็นต้น